วันที่ 23-24
เมษายน 2558 เวลา 09.00-16.00 น.
โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส (ศรีนครินทร์)
วิทยากร
คุณกฤษฎ์ อุทัยรัตน์
ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาการบริหารคุณภาพ บริหารทรัพยากรมนุษย์ และกฎหมาย
ประวัติการทำงาน :
§ ประธานกรรมการบริหาร Kriszd Quality Innovation Institute และ
SCENARIO TECHNOLOGY CO.,LTD.
§ กรรมการในคณะรับรองมาตรฐานแรงงานไทย และ กรรมการคัดเลือกที่ปรึกษาในระบบบริหารจัดการมาตรฐานแรงงานไทย
สานักมาตรฐานแรงงานไทย กระทรวงแรงงาน
§ ที่ปรึกษา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และผู้มีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามกฎหมายให้ บริษัทชั้นนำ ไม่น้อยกว่า 500 บริษัท
§ กรรมการบริหาร TuV Nord ประเทศไทย-เยอรมัน
§ อดีตผู้บริหารระดับ CEOs บริษัทจำกัดมหาชนหลายแห่ง
§ อดีตผู้พิพากษาสมทบ ศาลแรงงานกลาง กระทรวงยุติธรรม
§ กรรมการบริหารสายแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
§ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การทุกแขนง สาขา
การบริหารกระบวนการทางธุรกิจ และระบบการบริหารจัดการ ISO TQM ต่างๆ
หลักการและเหตุผล
เชื่อว่า !! นายจ้างและลูกจ้างบางรายคงเคยนึกสงสัยว่า การจ้างแรงงานจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือหรือไม่
หรือถ้าไม่มีสัญญาจ้างแรงงานเป็นหนังสือจะฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลแรงงานกลางได้หรือไม่
? ความจริงสัญญาจ้างแรงงานไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
สามารถทำด้วยวาจาได้ ทำแบบปริยายให้เป็นที่เข้าใจรับรู้ของคู่สัญญาก็ได้ แต่เวลามีปัญหาแม้จะฟ้องร้องในศาลแรงงานได้ก็จริง
แต่ก็ชวนปวดเศียรเวียนเกล้า เนื่องจากต้องนำพยานมาสืบหักล้างกัน นายจ้างบางรายไปทำสัญญาแอบๆ
ย้อนหลังไว้ ก็จะเข้าข่ายตกแต่ง สร้าง เอกสารเท็จมาสู้คดีกันในศาลอีกต่างหาก ไม่เป็นประโยชน์
หากจะทำสัญญาจ้างแรงงานต่อกันแล้ว ข้อควรระวัง การให้ความสำคัญในประเด็นหลักๆ ที่ถึงขั้นได้เปรียบ
เสียเปรียบนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวด ไม่ควรมองข้าม กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
มาตรา 14/1 กำหนดในทำนองว่า หากสัญญาจ้างแรงงานที่ทำขึ้นนั้นเอาเปรียบฝ่ายลูกจ้าง
ลูกจ้างสามารถฟ้องให้ศาลตัดสินให้โมฆะและมีผลเท่าที่เป็นธรรมต่อกันเท่านั้น ดังนั้น ควรมีการจัดทำสัญญาจ้างแรงงานให้ดีที่สุด
ในเชิงป้องกันก็จะช่วยได้มากมาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาสามารถจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่เสียเปรียบและไม่
ถูกมองว่าเอาเปรียบพนักงาน
2. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาเข้าใจเกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างแรงงานพร้อมฝึกปฏิบัติเพื่อนำไปปรับใช้ในองค์กรต่อไป
ผู้เข้าสัมมนา
·
พนักงานฝ่ายบุคคล
·
HR Manager , ผู้บริหารที่ดูแลเรื่องการจ้างงาน
·
นายจ้าง
ผู้ประกอบการ
·
ผู้สนใจทั่วไป
สิ่งที่ได้รับ :
หลักสูตรพิเศษนี้ มอบตัวอย่างสัญญาจ้างแรงงานของแท้จำแนกประเภทสัญญาจ้างทดลองงาน
สัญญาจ้างพนักงานประจำ สัญญาจ้างพิเศษ พร้อมตีแผ่เป็นข้อๆ ทุกมุมมองละเอียดยิบพิสดาร
หัวข้อการสัมมนา
1. การทำสัญญาจ้างแรงงาน คือ อะไร
- สัญญาจ้างแรงงานควรทำเป็นหนังสือหรือไม่ ทำด้วยวาจาดีกว่าจริงหรือ เพราะไม่ต้องทิ้งหลักฐานไว้ว่าจ้างอย่างไร
และอย่างไหนมีผลดีอย่างแท้จริง
- การจ้างทดลองงาน ทำอย่างไรไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ทำไมต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
(ค่าตกใจ) จะมีทางออกหรือไม่ที่นายจ้างไม่ต้องจ่าย
- สาระสำคัญที่ควรจะมีในสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีไม่ได้ คืออะไร และอะไรคือเงื่อนไขสัญญาที่ต้องทำให้ถูกต้องอย่างแท้จริง
เช่น สถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำสัญญา ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา ตำแหน่งและหน้าที่ที่รับผิดชอบ
อัตรา และกำหนดการจ่ายค่าจ้าง เงื่อนไขอื่น ๆ เช่น การทดลองงาน การเรียกประกันการทำงาน
การบรรจุ ฯลฯ วันเริ่มทำงานจริง วันสิ้นสุดการจ้าง (ถ้ามี)
ลายมือชื่อของนายจ้างและลูกจ้าง และลายมือชื่อพยาน (ควรจะมี) เป็นต้น ใช่หรือไม่
- ตัวอย่างพอสังเขปของการจัดทำสัญญาจ้างแรงงานที่รัดกุม
- ปัญหาที่มักพบที่เกิดจากการทำสัญญาไม่ถูกต้องรัดกุมเป็นอย่างไร กรณีศึกษาจากตัวอย่างสัญญาที่ดี
2. การทำสัญญาจ้างแบบตามผลงาน เช่น รายชิ้น
เป็นอย่างไร หากจำนวนชิ้นงานที่ทำได้ต่อวันน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะทำได้หรือไม่เพียงใด
- ลักษณะงานที่ใช้สัญญาจ้างตามผลงาน
- ผลดีของการทำสัญญาจ้างตามผลงาน
- สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างตามผลงานแตกต่างจากลูกจ้างประเภทอื่นอย่างไร
3. การทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
ตายตัว เมื่อครบระยะเวลาตามสัญญาไม่ต้องจ่ายทั้งค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เป็นอย่างไร
- การทำสัญญาจ้างแบบงานโครงการ และลักษณะงานที่ทำได้
- การทำสัญญาจ้างแบบครั้งคราว และงานจร เป็นอย่างไร
- การทำสัญญาจ้างแบบตามฤดูกาลมีข้อจำกัดหรือไม่ จ้างนอกฤดูกาลได้เพียงใด งานโรงแรมในช่วง High season จะจ้างได้หรือไม่
4. การทำสัญญาจ้างแบบเหมาค่าแรง (การจ้างเหมาบริการแรงงาน) เหมาช่วง
- ลักษณะของสัญญาจ้างแบบเหมาค่าแรง เหมาช่วงเป็นอย่างไร
- ประเด็นปัญหาข้อพึงระวังและความรับผิดในการทำสัญญาแบบเหมาค่าแรง และเหมาช่วง
5. การฟ้องร้องบังคับชดใช้ค่าเสียหายกรณีลูกจ้างผิดสัญญา
6. การจัดทำสัญญาค้ำประกันการทำงาน
- หลักในการจัดทำสัญญาค้ำประกัน ด้วยทรัพย์ ด้วยบุคคล
- ตัวอย่างของสัญญาค้ำประกันที่ดี
- ประเด็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นในการทำสัญญาค้ำประกันและวิธีการแก้ไข
7. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท เราจะบริหารอย่างไร ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ถ้ามีการจ่ายเงินในรูปแบบอื่นๆ รวมอยู่ในPay Slip แล้ว
8. ท่านถาม อาจารย์ตอบ
สอบถามเพิ่มเติม :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น