วิทยากร
คุณจักรพงษ์ วงศ์วัน
ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ
บริษัท เอ๊กซเปอร์เน็ท จำกัด
ประวัติการศึกษา
- ปริญญาโท วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ สถาบัน AIT (Asian Institute of Technology)
- ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณจักรพงษ์ เคยทำงานที่บริษัท กรุงไทย คอมพิวเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด (บริษัทในเครือของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย, บริษัท ซัมมิทคอมพิวเตอร์ จำกัด และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จากการทำงานที่หลากหลายทำให้มีประสบการณ์ในงานด้านการขาย และงานสนับสนุนลูกค้า , การตลาด การเป็นที่ปรึกษาการจัดการให้กับองค์กรต่าง ๆ มากมาย
นอกจากประสบการณ์ในการทำงานดังกล่าวแล้ว คุณจักรพงษ์ยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) และ Marketing Communication ที่มหาวิทยาลัยเซ็นจอห์น และยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรในหลายๆ องค์กร ทั้งบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานราชการ
หลักการและเหตุผล
ในขณะที่การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกหน่วยงานและทุกองค์กรที่ต้องการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา (Continuous improvement) ทำให้มีความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งจากผู้บริหารและจากผู้ปฏิบัติการ ปัญหาที่ตามมาก็คือ ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าในบรรดาความคิดมากมายเหล่านั้น ความคิดอันไหนดีและสมควรนำมาใช้ ซึ่งการพิจารณาดังกล่าว จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ความเหมาะสม ความคุ้มค่า และความเป็นไปได้ที่จะทำ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ หรือโครงการใดๆ ก็ดี จะต้องศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของงานนั้นๆ หรือโครงการนั้นๆ ให้ดีเสียก่อน
สำหรับโครงการใหญ่ๆ ซึ่งใช้เวลานาน หรือต้องการเงินลงทุนสูง มักจะต้องขออนุมัติดำเนินการหรือขออนุมัติงบประมาณจากผู้มีอำนาจเสียก่อน ซึ่งผู้มีอำนาจจะพิจารณาจากรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study Report) เป็นสำคัญ ดังนั้น นอกจากจะต้องทำการศึกษาให้ดีแล้ว ยังจะต้องการการทำรายงานให้ดีและนำเสนอผลการศึกษาให้ดีด้วย โครงการต่างๆ จึงจะสามารถผ่านการอนุมัติจากผู้มีอำนาจได้
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้เข้าใจถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการทำ Feasibility Study
- เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้เข้าใจถึงขั้นตอน และวิธีการในการทำ Feasibility Study
- เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้เข้าใจถึงวิธีการเขียนรายงานและการนำเสนอ
ผู้เข้าสัมมนา
- ผู้บริหาร ผู้จัดการโครงการ
- เจ้าของกิจการ
- ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงการ และนำเสนอโครงการ
รูปแบบการสัมมนา
การบรรยาย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอ
หัวข้อการสัมมนา
1. ความสำคัญของความคิด และการเลือกโครงการ
2. การวัดความคุ้มค่าและการประมาณการ (cost/benefit analysis and estimation)
- ส่วนที่วัดเป็นตัวเงินได้
- ส่วนที่วัดเป็นตัวเงินไม่ได้
- การทำ sensitivity analysis และการบริหารความเสี่ยง (risk management)
3. ขั้นตอนในการศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility study)
4. การพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ
- ด้านการปฏิบัติการ
- ด้านการลงทุนและการเงิน
- ด้านเทคนิค
- ด้านเวลา
5. การเขียนรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility study report)
6. การนำเสนอผลการศึกษา (Presentation) และข้อควรระวัง
สอบถามเพิ่มเติม :
|
Tel. 02-1159890-92 , 086-3315228
|